หูตึง เป็นหนึ่งในอาการของการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศและทุกวัย ในสังคมไทยส่วนใหญ่มักจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะมีสาเหตุการเกิดที่มาจากกลไกและกาลเวลาของธรรมชาติ แล้วสาเหตุที่ว่านั้นคืออะไร หูตึง หนวกหรือสูญเสียการได้ยินแบ่งเป็นกี่ประเภท เรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กัน

  • การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง

หูตึง หรือ การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง เป็นประเภทของการสูญเสียการได้ยินประเภทแรก ที่ทำให้เรามีอาการ หูตึง ไม่สามารถได้ยินเสียงตามปกติได้ และมักจะมีสาเหตุการเกิดมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง จึงทำให้เกิดความผิดปกติในการส่งผ่านคลื่นเสียงไปหูชั้นใน วิธีเยียวยารักษาจะเป็นการใช้ยาหรือการผ่าตัด และสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติในหู้ชั้นกลางและหูชั้นในมีดังนี้ เยื่อแก้วหูทะลุ ซึ่งจะทำให้หูตึงทันทีหลังได้รับบาดเจ็บ ขี้หูอุดตัน หูชั้นกลางอักเสบหรือหูน้ำหนวก ภาวะมีน้ำขังในหูชั้นกลาง ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ โรคหินปูนในหูชั้นกลาง ซึ่งเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และจะพบในเพศหญิงมากกว่า นอกจากนี้ยังมีสาเหตุการเกิดมาจากกระดูกชั้นกลางหักหรือหลุดจากอุบัติเหตุ และการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันในรูหู เป็นต้น

  • การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับเสียงบกพร่อง

หูตึง หรือการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับเสียงบกพร่องเป็นประเภทของการสูญเสียการได้ยินที่พบได้บ่อยมากที่สุด เนื่องจากความผิดปกติของหูชั้นใน ประสาทรับเสียง ไปจนถึงสมอง เมื่อส่วนเหล่านี้มีความผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้เราไม่สามารถเข้าใจและตีความเสียงได้อย่างรู้เรื่อง และเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทั้งยังสามารถส่งผลอันตรายถึงชีวิต หูตึงประเภทนี้จะมีสาเหตุการเกิดมาจาก ประสาทหูเสื่อมตามอายุ ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ เป็นอาการ หูตึง ที่เกิดขึ้นตามกลไกเวลาของธรรมชาติ ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน เส้นประสาทหูเสื่อมเพราะเกิดจากการได้ยินเสียงที่ดังมากในระยะเวลาหนึ่งหรือครั้งเดียว ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป ประสาทหูเสื่อมแต่กำเนิด หูชั้นในอักเสบ โรคเมเนียส์หรือน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคเนื้องอกประสาทหู โรคซิฟิลิส การได้รับอุบัติเหตุจนทำให้หูชั้นในเกิดความเสียหาย หูชั้นในได้รับผลกระทบจากการผ่าตัดหู มีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน การใช้ยาที่มีพิษต่ออวัยวะหูเป็นระยะเวลานาน นอกจานี้ยังสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ รวมไปถึงสาเหตุการเกิดจากโรคทางกายและโรคที่เกิดในสมองก็ส่งผลกระทบให้เกิดเป็นอาการหูตึง ประเภทนี้ขึ้นได้ด้วยเช่นกัน 

  • การสูญเสียการได้ยินชนิดการรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม

หูตึง หรือการสูญเสียการได้ยินชนิดการรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม เป็นภาวะ หูตึง ที่เกิดจาก ความผิดปกติในการนำเสียงบกพร่องร่วมกับประสาทรับเสียงบกพร่อง ส่งนมากมักจะพบในโรคความผิดปกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลางร่วมกับหูชั้นใน เช่น โรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง โรคในหูชั้นกลางของผู้ที่มีปัญหาประสาทรับเสียงเสื่อมด้วย โรคหินปูนเกาะกระดูกโกลนร่วมกับมีพยาธิในหูชั้นใน เป็นต้น

หูตึง หรือการสูญเสียการได้ยินเป็นความผิดปกติของสุขภาพร่างกายที่สามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมากมายเช่นเดียวกับโรคร้ายอื่นๆ ดังนั้น เมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับหูและการได้ยิน ไม่ควรนิ่งเฉยหรือปล่อยผ่านและรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อที่จะได้หาทางรักษาได้ทันท่วงทีและป้องกันการสูญเสียที่อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่กว่าเดินไม่ให้เกิดขึ้นได้

Explore More

การทำเลสิก ทางเลือกใหม่ของการมองเห็นที่ดีกว่า

ทำเลสิก
February 1, 2023 0 Comments 1 tag

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่สายตาไม่ดี และรุ้สึกเบื่อที่ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ตลอดเวลา และคุณกำลังมองหาวิธีแก้ไขปัญหาการมองเห็นที่ถาวรขึ้น การทำเลสิกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและเป็นที่นิยม การทำเลสิกเป็ฯที่นิยมมากในปัจจุบันเพราะช่วยให้หลาย ๆคนมองเห็นได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ อีกทั้งยังเป็นการรักษาแบบถาวร

การเจาะคอ คืออะไร ต้องดูแลอย่างไรบ้าง ผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอต้องรู้

February 10, 2023 0 Comments 1 tag

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินถึงเรื่องของการรักษาด้วยวิธีการเจาะคอกันมาบ้างแล้ว มีคนไม่น้อยเลยที่คิดว่าการรักษาด้วยวิธีการเจาะคอนั้นเป็นสิ่งที่อันตราย และทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิม แต่ความจริงแล้วการเจาะคอเป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดได้มากขึ้น และสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้เร็วมากขึ้นต่างหาก แล้วการรักษาด้วยวิธีการเจาะคอคืออะไร หากว่าต้องดูแลผู้ป่วยเจาะคอ จะต้องทำอย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันได้เลยในบทความนี้  ผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอต้องรู้ การเจาะคอคืออะไร  การเจาะคอ เป็นวิธีการรักษาที่จะต้องทำการเปิดท่อทางเดินหายใจส่วนต้นของผู้ป่วย โดยจะทำการรักษาด้วยวิธีนี้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะทางเดินหายใจถูกปิดกั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำการหายใจทางจมูก หรือปากเองได้ การเจาะคอจึงเป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กับผู้ป่วยสามารถหายใจได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาแพทย์จะทำการย้ายตำแหน่งของทางเดินหายใจมาไว้ที่บริเวณหลอดลมที่อยู่ใต้กล่องเสียงแทน นอกจากที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดที่กล่องเสียงได้ รวมถึงยังช่วยให้ผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอสามารถเคลียร์เสมหะของคนไข้ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง  วิธีการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต้องทำอย่างไรบ้าง  มาถึงในส่วนของการดูแลผู้ป่วยเจาะคอกันบ้าง ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีการเจาะคอแล้ว แพทย์จะยังไม่ให้กลับบ้าน และแพทย์จะเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการตรวจเช็กแผล